วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสำรวจปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร

ผลการสำรวจปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร




ปัญหา

    ในปัจจุบัน ปัญหาการจราจรติดขัด ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองหลวง หรือเมืองขนาดใหญ่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง ปัญหาการจราจรติดขัดได้ส่งผลกระทบต่อความเจริญของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ซึ่งทำให้เกิดความเครียด ปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหามลภาวะด้านเสียง ฝุ่นละออง และควันพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนในสังคม ในด้านการเมือง เมื่อประเทศประสบกับปัญหาการจราจรติดขัดอยู่เป็นเวลานาน และไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทัดเทียมอารยประเทศ สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว คณะผู้บริหารประเทศไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อีกด้วย


วัตถุประสงค์

1. เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจราจรในกทม.

2. เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจรในกทม.


แบบสัมภาษณ์

1. คุณคิดว่าปัญหาการจราจรสามารถแก้ไขได้หรือไม่

2. อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การจราจรในกทม.ติดขัด

3. เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น

4. คุณมีวิธีหลีกเลี่ยงอย่างไรในเวลาเร่งรีบ

5. ถ้าคุณเป็นผู้ว่ากทม.คุณจะมีกลยุทธ์อย่างไรในการแก้ไขปัญหาการจราจร



ประเด็นผลการวิเคราะห์ร้อยละ

ข้อ 1 คุณคิดว่าปัญหาการจราจรสามารถแก้ไขได้หรือไม่

- แก้ไขได้                                                           คิดเป็น 63.33 % ***

- แก้ไขไม่ได้                                                       คิดเป็น 36.67 %

ข้อ 2 อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การจราจรในกทม.ติดขัด
- ปริมาณรถเยอะ                                                 คิดเป็น 60 % ***

- การไม่เคารพกฎจราจรและไม่มีวินัย                  คิดเป็น 26.67 %

- เส้นทางมีจำนวนน้อยและคับแคบ                     คิดเป็น 10 %

- ฝนตกและน้ำท่วม                                             คิดเป็น 3.33 %


ข้อ 3 เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
- จำนวนรถเยอะในท้องถนน                                คิดเป็น 36.67 % ***

- คนปฏิบัติผิดกฎจราจรและไม่มีวินัย                   คิดเป็น 26.67 %

- รถติด                                                                  คิดเป็น 20 %

- คนใช้รถพร้อมกัน                                               คิดเป็น 6.67 %

- การวางผังเมือง                                                 คิดเป็น 6.66 %

- อุบัติเหตุเกิดมากขึ้น                                           คิดเป็น 3.33 %


ข้อ 4 คุณมีวิธีหลีกเลี่ยงอย่างไรในเวลาเร่งรีบ

- BTS / MRT                                                         คิดเป็น 40 % ***

- เรือ                                                                      คิดเป็น 20 %

- ออกจากบ้านให้เร็วขึ้น                                         คิดเป็น 13.34 %

- รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง                                         คิดเป็น 10 %

- รถเมล์                                                                 คิดเป็น 6.67 %

- ไม่ออกในช่วงเวลาเร่งรีบ                                   คิดเป็น 3.33 %

- ขึ้นทางด่วน                                                         คิดเป็น 3.33 %

- ใช้เส้นทางลัด                                                     คิดเป็น 3.33 %



ข้อ 5 ถ้าคุณเป็นผู้ว่ากทม.คุณจะมีกลยุทธ์อย่างไรในการแก้ไขปัญหาการจราจร


- รณรงค์ใช้รถสาธารณะ                                          คิดเป็น 43.34 % ***

- ขยายเส้นทางในกทม.                                           คิดเป็น 16.67 %

- บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด                           คิดเป็น 13.33 %

- จำกัดจำนวนรถ                                                     คิดเป็น 13.33 %

- รณรงค์ไปด้วยกันเส้นทางเดียวกัน                        คิดเป็น 6.67 %

- จัดเวลาเข้างานและเวลาเรียนไม่ตรงกัน               คิดเป็น 3.33 %

- ปรับสัญญาณจราจร                                              คิดเป็น 3.33 %


โมเดลกลยุทธ์การลดปัญหาการจรจรติดขัดในกรุงเทพ

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รวมกลยุทธ์เฉพาะกิจ


สุภาษิตสอนใจ

มุมแนะนำหนังสือ


แนะนำงานวิจัย

เก็บตกคำสอนชวนคิด

กิจกรรมสร้างอารมณ์ขัน

กิจกรรมเรียนรู้เป็นทีม

กลอนเกี่ยวกับครู

Modle มาตรฐานวิชาชีพครู

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพครู

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพครู


มาตรฐานวิชาชีพ



มาตรฐานที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยี

1) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

2) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน
สำหรับเทคโนโลยีนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการด้านการสอนของครู เพื่อให้การสอนในห้องเรียนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้วย เพื่อที่จะนำมาใช้ทำสื่อประกอบการสอน เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความรู้อย่างเต็มศักยภาพ



มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตร : กรอการทำการจัดการเรียนการสอน สามารถแบ่งหลักสูตรออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรแกนกลาง : เป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะต้องมีการเรียนรู้อะไรบ้าง หลักสูตรจึงเป็นเหมือนกรอบกำหนดความรู้ที่ควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ โดยจะกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้

หลักสูตรสถานศึกษา : สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล



มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้

2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน



มาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู

จิตวิทยาการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูสามารถนำหลักจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้และการจูงใจ การจูงใจ จะช่วยในการโน้มน้าวใจให้เขาอยากเรียนมากขึ้น เมื่อเขาได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากที่จะเรียนขึ้นมา ครูก็ต้องพยายามที่จะหาวิธีโน้มน้าวใจ ให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ให้มากที่สุด อาจแบ่งได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะความสนใจ

2. ระยะความสำเร็จ

3. ระยะเครื่องล่อใจ



มาตรฐานที่ 5 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา


การวัดและประเมินผลทางการศึกษาจะต้องไม่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการปฎิบัติควบคู่กันไปด้วย ไม่ควรที่จะแยกการวัดและการประเมินออกจากกิจกรรมการสอนในชั้นเรียน



มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการห้องเรียน

การจัดห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องจัดระเบียบ วางแนวการจัดห้องเรียนที่ดี อาศัยการเริ่มต้นในช่วงแรกให้ดี และปฎิบัติอย่างนั้นมาตลอด จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด

แนวทางการจัดการห้องเรียน ครูต้องกำหนดข้อควรปฏิบัติให้แก่ผู้เรียน มีการอธิบายรายละเอียดของงานอย่างเป็นระบบ ครูต้องกำกับดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เด็กมีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด



มาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา

คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Research" Re มีความหมายว่า อีก Search แปลว่า "การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก

ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง และคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง



มาตรฐานที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและใช้ร่วมกับกระบวนการทางการศึกษาจิตวิทยา ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้

นวัตกรรม คือ การนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว มี 3 ระยะ คือ

1.ระยะการคิดค้น (Invention)

2.ระยะการพัฒนา (Development)

3. ระยะนำมาปฏิบัติจริง


มาตรฐานที่ 9 ความเป็นครู

ความสำคัญของวิชาชีพครู ครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์ ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์กระทำความชั่วต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่งเพราะครูเป็นทั้งผู้สร้าง และผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติ ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง


ที่มา :
http://www.moe.go.th/wijai/teacher.htm
http://images.wishswu.multiply.multiplycontent.com/attachment/

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้


การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)

องค์กรแห่งการเรียนรู้ดำเนินการให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีการทำการบริหารความรู้ (Knowledge Management) บูรณาการเข้ากับกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งการบริหารจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการจัดการความรู้ที่มีอยู่ในตัวเราออกมาใช้เพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น ไม่ใช่เก็บความรู้ไว้คนเดียว หากเราเก็บความรู้ไว้คนเดียว ความรู้ที่มีอยู่ก็จะไม่เกิดประโยชน์ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้” ผู้นำในองค์กรจะต้องสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งทุกคนเป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ เมื่อเรียนรู้ได้มากขึ้นก็สร้างความรู้ใหม่ได้มากขึ้น เมื่อนำความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นอีก และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น จึงกลายเป็นวงจรที่เพิ่มพูนได้ในตัวเองอย่างไม่มีสิ้นสุด ที่เรียกว่า “วงจรการเรียนรู้” นั่นเอง

องค์ประกอบหลักด้านการบริหารจัดการความรู้

1. การแสวงหาความรู้ เป็นกระบวนการที่องค์การนำมาปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้

2. การสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคล ทีมงาน และองค์กรได้สร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน หรือเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนให้สูงขึ้น

3. การถ่ายโอนและใช้ความรู้ เป็นกระบวนการที่บุคคล กลุ่ม หรือองค์กรถ่ายโอนและใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์

4. การจัดเก็บความรู้และนำมาใช้ใหม่ เป็นกระบวนการที่นำความรู้ที่ได้มาหรือสร้างขึ้นโดยจัดเก็บเพื่อสะดวกในการนำกลับมาใช้ใหม่



องค์ประกอบย่อยด้านการแสวงหาความรู้

การแสวงหาความรู้ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 2 วีธี คือ การแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ภายนอกองค์การและแหล่งความรู้ภายในองค์การ

1. การแสวงหาความรู้จากภายนอก (External Collection Of Knowledge) ปัจจุบันนี้อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำองค์กรจะต้องมองออกไปข้างนอกเพื่อรับแนวความคิดใหม่ ๆ มาปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอด้วยข้อมูลสารสนเทศจากสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การอ่านจากสื่อ บทความ เป็นต้น

2. การแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ภายในองค์การ (Internal Collection of Knowledge) ความสามารถในการเรียนรู้จากส่วนต่าง ๆ ภายในองค์กร นับเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความร่วมมือได้ ผู้นำต้องพัฒนาองค์กรให้สามารถแสวงหาความรู้ภายในโดยการค้นหาความรู้จากบุคลากร เรียนรู้จากประสบการณ์ใช้กระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง



ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ภาวะผู้นำของผู้บริหารจะต้องสร้างองค์กรหรือสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยวินัย 5 ประการที่ส่งผลให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1. ความรอบรู้ส่วนตน (Personal Mastery)
2. แบบแผนความคิด (Mental Model)
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)
จากวินัย 5 ประการนี้ ดร.ปีเตอร์ เอ็ม. เซ้งกี้ ต้องการจะเน้นว่า ไม่ว่าจะเป็นภารกิจใด ๆ ล้วนถือว่าเป็นเรื่องของเชิงระบบ ไม่ระบบอย่างใดก็อย่างหนึ่ง ย่อมต้องมีที่มาและที่ไป เราจะต้องเข้าใจและเห็นชัดในทุก ๆ สถานการณ์

การจัดการความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (2548) ได้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้เพิ่มคุณค่าเมื่อสามารถลดต้นทุนเวลา และพยายามช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หรือการแบ่งปันความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการความรู้ การจัดการเนื้อหา กำหนดบทบาทความรู้ ซึ่งการจัดการความรู้นั้นมีเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถช่วยเหลือบุคคลและองค์กรให้สามารถเข้าถึงความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ ดังนั้น องค์กรจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากความรู้ มากกว่าการสร้างและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีที่สุด กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถทำอะไรเองได้ จำเป็นต้องอาศัยมนุษย์และผ่านกระบวนการเกี่ยวกับการจัดการความรู้

วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ คือ การทำให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นสามารถนำมาใช้อย่างเหมาะสมจากผู้ส่งถึงผู้รับ ความรู้ของผู้ส่งและผู้รับนั้น สามารถนำเอาไปใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผู้ส่งอาจจะส่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวหรือเป็นความรู้ นอกจากนี้ความรู้อาจจะมาจากแหล่งอื่น ๆ เช่น จากคลังความรู้ ใน “Global Village” ผู้ส่งและผู้รับสามารถเผยแพร่ข้ามโลกจากฟากหนึ่งไปอีกฟากหนึ่งของโลก หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ความรู้นั้นมนุษย์จำเป็นจะต้องนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและการนำไปใช้อย่างรวดเร็วทั้งองค์กร เช่น ระบบจัดการเอกสาร ความรู้ในหลายองค์กรมักอยู่ในรูปของเอกสาร และจัดเก็บอยู่ในรูปของตัวหนังสือ เช่น รายงาน หนังสือหรืองานเอกสาร

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้  เป็นต้น
7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

หัวใจของการจัดการความรู้

1. ความรู้คือพลัง

2.ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสารแต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน

3. จุดหมายปลายทางสำคัญ ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้ แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ

4. นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือ ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล



เครื่องมือในการจัดการความรู้

ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

1. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)

2. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)

รู้จักเนื้อหาวิชา Ed 433