วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพครู

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพครู


มาตรฐานวิชาชีพ



มาตรฐานที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยี

1) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

2) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน
สำหรับเทคโนโลยีนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการด้านการสอนของครู เพื่อให้การสอนในห้องเรียนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้วย เพื่อที่จะนำมาใช้ทำสื่อประกอบการสอน เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความรู้อย่างเต็มศักยภาพ



มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร

หลักสูตร : กรอการทำการจัดการเรียนการสอน สามารถแบ่งหลักสูตรออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรแกนกลาง : เป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะต้องมีการเรียนรู้อะไรบ้าง หลักสูตรจึงเป็นเหมือนกรอบกำหนดความรู้ที่ควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ โดยจะกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้

หลักสูตรสถานศึกษา : สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล



มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้

การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ

1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้

2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน



มาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู

จิตวิทยาการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูสามารถนำหลักจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้และการจูงใจ การจูงใจ จะช่วยในการโน้มน้าวใจให้เขาอยากเรียนมากขึ้น เมื่อเขาได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากที่จะเรียนขึ้นมา ครูก็ต้องพยายามที่จะหาวิธีโน้มน้าวใจ ให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ให้มากที่สุด อาจแบ่งได้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะความสนใจ

2. ระยะความสำเร็จ

3. ระยะเครื่องล่อใจ



มาตรฐานที่ 5 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา


การวัดและประเมินผลทางการศึกษาจะต้องไม่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการปฎิบัติควบคู่กันไปด้วย ไม่ควรที่จะแยกการวัดและการประเมินออกจากกิจกรรมการสอนในชั้นเรียน



มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการห้องเรียน

การจัดห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องจัดระเบียบ วางแนวการจัดห้องเรียนที่ดี อาศัยการเริ่มต้นในช่วงแรกให้ดี และปฎิบัติอย่างนั้นมาตลอด จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด

แนวทางการจัดการห้องเรียน ครูต้องกำหนดข้อควรปฏิบัติให้แก่ผู้เรียน มีการอธิบายรายละเอียดของงานอย่างเป็นระบบ ครูต้องกำกับดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้เด็กมีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด



มาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา

คำว่า "การวิจัย" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Research" Re มีความหมายว่า อีก Search แปลว่า "การค้นหา" ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก

ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง และคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง



มาตรฐานที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรม

เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและใช้ร่วมกับกระบวนการทางการศึกษาจิตวิทยา ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้

นวัตกรรม คือ การนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว มี 3 ระยะ คือ

1.ระยะการคิดค้น (Invention)

2.ระยะการพัฒนา (Development)

3. ระยะนำมาปฏิบัติจริง


มาตรฐานที่ 9 ความเป็นครู

ความสำคัญของวิชาชีพครู ครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์ ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์กระทำความชั่วต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่งเพราะครูเป็นทั้งผู้สร้าง และผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติ ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง


ที่มา :
http://www.moe.go.th/wijai/teacher.htm
http://images.wishswu.multiply.multiplycontent.com/attachment/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น